Something else
แผลในปากมะเร็งนับเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงที่เกิดจากการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็ง, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเลือด หรือผู้ที่ต้องเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก แผลในปากมะเร็งจะมีลักษณะเป็นแผลใหญ่และลึก อาจมีมากกว่า 1 แผลได้ แผลนี้จะทำให้ผู้ป่วยทรมานเพราะไม่สามารถทานอาหารหรือพูดได้อย่างชัดเจนเหมือนเดิม แผลในปากมะเร็งนับเป็นผลข้างเคียงที่น่าหดหู่สำหรับผู้ป่วยอย่างมาก โดยปกติแล้วแผลในปากมะเร็งจะเกิดประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากที่ผู้ป่วยทำการรังสีรักษา หรืออาจเกิดในสัปดาห์แรกหลังจากการได้รับเคมีบำบัด
เมื่อเกิดแผลในปากแล้วโอกาสที่แผลจะใหญ่หรือลึกมากขึ้นมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากผู้ป่วยต้องใช้เวลานานในการรับการรักษาแบบเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา แผลในปากจะส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดลบ มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่อยากที่จะรักษามะเร็งต่อไป นอกจากนี้แผลในปากมะเร็งยังอาจนำไปสู่ภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อนในช่องปาก เนื่องจากผู้ป่วยไม่ยอมแปรงฟัน
ทำให้มีโอกาสจะติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราเพิ่มเติมอีกด้วย แผลในปากมะเร็งนี้สามารถแก้ปัญหาได้โดยผลิตภัณฑ์หรือยาหลายชนิด แต่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ชื่อว่า PVP GEL ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากแผลในปากมะเร็งให้น้อยลงภายหลังจากการกลั้วผลิตภัณฑ์ในครั้งแรก และยังทำให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ดีขึ้นด้วย
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นแผลในปากมะเร็ง โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มได้,พูดได้ดีขึ้น ยอมให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาโรค และการดูแลสุขอนามัยของช่องปาก
PVP GEL มี Polyvinylpyrrolidone เป็นสารประกอบหลัก วิธีการใช้เพียงแค่กลั้วผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 3-5นาที สามารถกลืนหรือบ้วนทิ้งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแผลในปากมะเร็ง สามารถคงฤทธิ์บรรเทาปวดได้ 2-3 ชม. ใช้ได้วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอนเพื่อบรรเทาการเจ็บปวดของแผลในปากมะเร็ง
ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (oral mucositis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ในขณะการฉายรังสีผู้ป่วยจะมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามปริมาณรังสีหรือยาเคมีบำบัดที่ได้รับ สามารถพบได้บ่อยในบริเวณเยื่อบุช่องปาก ริมฝีปาก เหงือก ลิ้น เพดาน พื้นของช่องปาก
มีอาการบวมแดงมีแผลในช่องปากทำให้มีความเจ็บปวดแสบร้อน
ปากแห้ง การรับรส และการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง
เกิดภาวะกลืนลำบาก รับประทานอาหารได้ลดลงและอาจต้องได้รับการใส่สายให้อาหารเนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้อย่างเพียงพอ
มีโอกาสติดเชื้อในช่องปากและทั้งระบบของร่างกาย ทำให้เพิ่มการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ
ความรุนแรงของอาการส่งผลต่อแผนรักษา เช่น ทำให้ต้องลดขนาดยาเคมีบำบัดลงหรือเลื่อนเวลาการรับยาหรือพักการฉายรังสี บางรายต้องได้รับยาแก้ปวดประเภท opioid ถึงร้อยละ 53
ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง เช่น การพูด การรับรสเปลี่ยนไป อาการเจ็บปวดทำให้รับประทานอาหารได้ลดลงและกลืนลำบากร่างกายอ่อนเพลีย
ส่งผลลบต่อจิตใจ ได้แก่ภาวะเครียด เกิดความท้อแท้ต่อการรักษา รู้สึกต้องพึ่งพาผู้อื่น เกิดความรู้สึกด้อยค่าและเป็นภาระแก่ครอบครัวหรือญาติผู้ดูแล
โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุในช่องปาก
เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดและหรือร่วมกับการฉายแสง
เยื่อบุช่องปากอักเสบ มักเกิดอาการมากสุดในช่วง 7 วัน
หลังจากได้รับยาเคมีบำบัด
อุบัติการณ์: การเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบที่เกิดจาก ยาเคมีบำบัดทั่วๆไปประมาณ 20 - 40%
อุบัติการณ์: ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับการรักษาด้วย hematopoietic cell transplantation (HCT) โดยเฉพาะ myeloablative allogeneic HCT จะมีอุบัติการณ์สูงถึง 80%
อุบัติการณ์: พบได้ถึงร้อยละ 85 และมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 98 ในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด
เมื่อมีการฉายรังสี อนุภาคของรังสีจะส่งผลให้เซลล์ของเยื่อบุบางลงทำลายเซลล์ต้นกำเนิดของเยื่อบุผิวทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มีผลทำให้ไม่เกิดการแบ่งเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ เยื่อบุช่องปากจึงบางลงเรื่อยๆ และทำให้เกิดแผลในช่องปากตามมา นอกจากนี้อนุภาคของรังสียังมีผลเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของต่อมน้ำลาย ทำให้ผู้ป่วยมีปริมาณน้ำลายลดลงจนเกิดภาวะน้ำลายแห้งอีกด้วย
ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่รับการฉายรังสี
มักเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในระหว่างการรักษา
เป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์
โดยจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2
และจะมีความรุนแรงมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 5
เมื่อสิ้นสุดการฉายรังสีเยื่อบุช่องปากจะใช้เวลา
2-6 สัปดาห์ในการฟื้นตัวและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
เยื่อบุช่องปากเริ่มมีสีแดง มีแผลแต่ไม่มีอาการปวด หรือเริ่มมีอาการเจ็บในช่องปากเล็กน้อย
เยื่อบุช่องปากมีสีแดง มีอาการปวด บวม หรือมีแผล แต่สามารถรับประทานอาหารธรรมดาหรืออาหารอ่อนได้
เยื่อบุช่องปากมีสีแดง มีอาการบวม ปวด หรือเป็นแผล รับประทานได้แต่อาหารเหลวหรือน้ำ
เยื่อบุช่องปากอักเสบอย่างรุนแรงจนไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำได้ ต้องรับอาหารทางสายยางหรือหลอดเลือดดำ
ผลทางตรง
ยาเคมีบำบัดทำให้เยื่อบุช่องปากบางลง และทำให้เกิดแผลใน 4-7 วัน ซึ่งเร็วว่าผลของการฉายรังสีและมีระดับความรุนแรงของภาวะเยื่อบุช่องปากสูงสุดภายใน 14 วันหลังได้รับยาเคมีบำบัด
ผลทางอ้อม
เนื่องจากยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ทั่วร่างกายและกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสร้างได้น้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แผลในปากมีความรุนแรงและเป็นแผลยาวนานมากขึ้น
จากกราฟจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบเคมีบำบัดมีโอกาสเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบได้มากกว่าการรักษาแบบรังสีรักษา เช่น 76-69.2% ของผู้ป่วยจะมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในระดับ 1 และ 2 ตามลำดับ แต่วิธีการรักษาแบบที่ใช้ทั้งเคมีบำบัดและรังสีรักษามีโอกาสเกิดแผลในระดับ รุนแรง (โดยเฉพาะในระดับ3และ4) มากกว่าการรักษาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง จากกราฟจะเห็นได้ว่าผู้ป่วย 54.3-66.7% ที่ได้รับทั้งเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา จะเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในระยะที่ 3 และ 4 ตามลำดับ
รูปที่ 1 เปรียบเทียบระยะเวลาการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ จากยาเคมีบำบัดและการฉายรังสี CT= การรักษาด้วยเคมีบำบัด RT= การรักษาด้วยรังสีรักษา
จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าการรับเคมีบำบัดจะทำให้เกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ ได้เร็วกว่ารังสีรักษา โดยมีแผลเกิดภายใน 14 วันหลังการได้รับยา ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีจะเกิดแผลช้ากว่าแต่เวลาในการหาย จากแผลจะยาวนานกว่า
รูปที่ 2 แสดง 4 ขั้นตอนของการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ
1. Initiation phase (ระยะเริ่มต้น)
โดยในระยะนี้อนุภาครังสีจะส่งผลต่อเซลล์ โดยทำให้ DNA แตกออก ทำลายโปรตีนภายในเซลล์ และทำให้เอนไซม์ที่มีหน้าที่ยึดเซลล์ไว้สลายออก ดังนั้นเนื้อเยื่อบุช่องปากจะเริ่มเสียหายและหลุดออกจากกัน
2. Amplification (ระยะขยายสัญญาณ)
จะเกิดต่อจากระยะแรกโดยจะเกิดการทำลายเยื่อบุช่องปากเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการตายของเซลล์เยื่อบุตลอดระยะเวลาที่ได้การฉายรังสี
3. Ulceration (ระยะแผล)
การบาดเจ็บและการตายของเซลล์ที่เกิดจากการฉายรังสี ส่งผลให้ในระยะนี้เยื่อบุช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยพบว่าเยื่อบุช่องปากจะบางลงมีลักษณะแดงมากขึ้นและมีโอกาสเกิดแผลได้ ลักษณะของแผลที่เกิดขึ้นจะมองเห็นมีเยื่อบางๆสีขาวปกคลุม ด้านบน ซึ่งเยื่อนี้เกิดจากเซลล์ที่ตาย และมักเป็นสาเหตุติดเชื้อจากแบคทีเรียในปากหรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้ยังพบว่าแบคทีเรีย จะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น ทำให้แผลใหญ่และลึกขึ้นได้อีกด้วย
4. Healing (ระยะฟื้นตัว)
การฟื้นตัวของเยื่อบุช่องปากจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ภายหลังสิ้นสุดการฉายรังสีใน 4 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าเยื่อบุช่องปากจะฟื้นตัว และหายเป็นปกติแต่ยังพบว่าความแข็งแรงของเยื่อบุจะลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบมากขึ้นหากได้รับการฉายรังสีหรือยาเคมีบำบัดในครั้งต่อไป
1. ชนิดและปริมาณรังสีและยาเคมีบำบัด ยิ่งได้รับพลังงานรังสีมากขึ้นโอกาสจะเกิดแผลยิ่งมีได้สูงมาก
2. ระยะเวลาที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
3. การได้รับยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน หรือการได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี (concurrent chemo-radiation) เป็นปัจจัยที่ทำให้แผลเยื่อบุในปากรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะวิธีทั้งสองต่างมีผลต่อเยื่อบุในปากทั้งคู่
4. ความไวต่อรังสีและยาเคมีบำบัดของเยื่อบุช่องปาก โดยพบว่าการอักเสบในช่องปากจะพบบ่อยและมีความรุนแรงมากในบริเวณกระพุ้งแก้ม ฐานของลิ้น ริมฝีปาก ด้านบนของลิ้น เพดานอ่อน คอหอยส่วนล่างและพื้นปากตามลำดับ
5. อายุของผู้ป่วย พบว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะมีอัตราการผลัดเปลี่ยนเซลล์สูงกว่าคนแก่หรือผู้ใหญ่ แต่ในผู้สูงอายุการฟื้นตัวหรือการหายจากแผลช้ากว่า ดังนั้นในเด็กอายุต่ำกว่า 18 และในผู้สูงอายุจะมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบรุนแรงกว่าในช่วงอายุอื่น
6. การรักษาอนามัยในช่องปาก พบว่าถ้าผู้ป่วยขาดการดูแลช่องปากที่ถูกต้องและเพียงพอจะส่งผลให้เชื้อประจำถิ่นในปากมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากที่มากขึ้นเช่นกัน หรือแม้แต่ฟันผุหรือมีแผลก่อนฉายรังสีจะยิ่งเพื่มความรุนแรงของเยื่อบุช่องปากอักเสบได้มากขึ้น
7. ภาวะอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีภาวะทุพโภชนาการ ภาวะต่างๆเหล่านี้จะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น แผลหายยากขึ้น
ความเจ็บปวดของแผล เนื่องจากเยื่อบุช่องปากอักเสบนั้นมักจะเป็นแผล กว้างและลึกทำให้ผู้ป่วยปวดมากและทรมาน ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถ ในการกลืนอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งน้ำลาย ไม่อยากพูด และไม่อยากแปรงฟัน ดังนั้น การลดความเจ็บปวดของแผลจึงเป็นเป้าหมายแรกที่จะทำให้ผู้ป่วย สามารถที่จะกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
การรักษาความสะอาดและเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปาก เช่นการแนะนำการแปรงฟัน หรือการดื่มน้ำ 2 ลิตร/วัน
การป้องกันและการจัดการการติดเชื้อในช่องปาก โดยพยาบาลจะสอนวิธีการประเมินช่องปากด้วยตัวเองทุกวัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถแจ้งได้ทันที เมื่อเกิดแผลจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อบุในช่องปาก เช่น การให้ผู้ป่วยทานอาหารครบหมู่โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง นอกจากนี้พยาบาลยังมีการประเมินภาวะทุพโภชนาการอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งด้วย
1. การดูแลสุขลักษณะของช่องปากขั้นพื้นฐาน (basic oral care)
• แนะนำอมกลั้วปากด้วยน้ำเกลือ ประมาณ 4 - 6 ลิตรต่อวัน
• ควรหลีกเลี่ยงการอมกลั้วน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
• แนะนำใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มและแปรงอย่างถูกวิธี คือ แปรงทำมุม 45 องศากับเหงือกและฟันโดยเริ่มที่โคนฟันก่อน
2. ประเมินอาการปวด และพิจารณาควบคุมอาการปวด
• หากอาการปวดไม่รุนแรง และความรุนแรงของเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 2 (grade 2 mucositis) แนะนำควบคุมอาการปวด ด้วยยาชาภายนอกเฉพาะที่ (topical analgesia mouth) เช่น benzocain, butylaminobenzoate, tetracaine hydrochloride, mentol และอาจใช้ร่วมกับยากลุ่ม steroid สำหรับป้าย (topical corticosteroid) เช่น triamcinolone oral paste
• หากมีอาการปวดรุนแรง และความรุนแรงของเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 3 - 4 (grade 3, 4 mucositis) พิจารณาควบคุมอาการปวดด้วยยารับประทานกลุ่มมอร์ฟีน
3. ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหากมีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
4. ประเมินอาการอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาการท้องเสีย และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีโพลีไวนิลไพโรลิโดน (Polyvinylpyrrolidone) เป็นส่วนประกอบหลักโดย polyvinylpyrrolidone นี้ USFDA จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ที่ใช้สำหรับการลดความปวดในแผลเยื่อบุช่องปากอักเสบ เช่นเดียวกับที่ อย. ประเทศไทย จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไปใช้สำหรับลดความปวดแผล เยื่อบุช่องปากอักเสบ
Polyvinylpyrrolidone เป็นโพลีเมอร์ที่สามารถละลายได้ในน้ำมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารเฉื่อย มีคุณสมบัติเด่น คือ ความสามารถในการดูดน้ำและยึดติด กับเนื้อเยื่อเมือก (Mucoadherent) จะทำให้เกิดเจลที่สามารถเคลือบผิวเนื้อเยื่อได้เป็นอย่างดี พีวีพี เจลนั้นจะออกฤทธิ์เฉพาะที่ในช่องปากโดยสร้างฟิล์ม เสมือนเป็นเกราะเคลือบเนื้อเยื่อที่เป็นแผลไว้ ทำให้แผลไม่ถูกรบกวน, ป้องกันปลายประสาทที่ไวต่อความรู้สึกจากการถูกกระตุ้นจากภายนอก นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับเนื้อเยื่อในช่องปาก ช่วยลดความรู้สึกแสบร้อน (dry heat discomfort) และลดการเจ็บปวดแผลในปากได้ทันที มีผลส่งเสริม คุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย เพราะทำให้สามารถพูดได้ ทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือกลืนน้ำลายได้ดีขึ้น
Raber-Durlachet JE, Elad S. Barasch A. Oral mucositis. Oral Oncol 2010, 46(6): 452-6
พว.วันทกานต์ ราชวงศ์. ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบและการดูแลช่องปากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี. วารสารรังสีวิทยาศิริราช 2557 ปีที่1 เล่มที่ 2: 142-151
เกษกนก กมลมาตยากุล, จาริกา แก้วบรรจง. ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็ง. มารู้มะเร็งกับศูนย์ HOCC-PSU
Sarah Nikece Mesquita Araujo et al. Cancer patients with oral mucositis: challenges for nursing care. Rev.Latino-Am.Enfermagem 2015 Mar-Apr: 23(2): 267-74
ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจะมีความทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกลืนอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งน้ำลาย ทำได้ลำบาก พูดไม่ถนัด ปวดทรมานตลอดเวลา
หลังจากได้ใช้ผลิตภัณฑ์ PVP Gel
ทำให้ความเจ็บปวดของเยื่อบุช่องปากอักเสบ
ลดน้อยลง การกลืนอาหาร น้ำ หรือน้ำลายดีขึ้น
ส่วนประกอบหลัก = โพลีไวนิลไพโรลิโดน Polyvinylpyrrolidone (PVP)
จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป
ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหาร
น้ำดื่ม น้ำลายได้ดีขึ้น พูดได้คล่อง
เพราะเจ็บปวดน้อยลงมาก
Improve ability to eat,
drink and speak
ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic Free)
ยาแก้ปวด (Analgesic Free)
ยาชา(Anesthetic Free)
สเตียรอยด์(Steroid Free)
แอลกอฮอล์ (Alcohol Free)
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับหลังจากใช้ PVP GEL
ลดความเจ็บปวดได้ภายใน 1 นาที
ลดปัญหาการเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในปากเนื่องจากขาดการรักษาอนามัยในช่องปากในช่วงที่เป็นแผล
ทำให้แผลเยื่อบุช่องปากอักเสบหายได้เร็วขึ้น
ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหาร ดื่มน้ำ กลืนน้ำลายได้ดีขึ้น สามารถพูดได้ชัดเจนมากขึ้นและนอนหลับได้ดีขึ้น
จะเคลือบแผลโดยการสร้างเป็นฟิล์มเคลือบเนื้อเยื่อในช่องปากเสมือนเป็นเกราะกำบังไม่ให้แผลถูกรบกวนจากภายนอก
ผลิตภัณฑ์ที่นําเข้าจากประเทศไต้หวัน
Finished product import from TAIWAN
เพื่อบรรเทาความเจ็บแผลและทำให้สามารถกลืนได้ดี ไม่เจ็บ
เพื่อบรรเทาความเจ็บแผลก่อนจะดื่มน้ำ
ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น
ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในการศึกษาทางคลินิก จากรายงานหลังการออกสู่ตลาดพบ ภาวะแสบร้อนในช่องปากได้ แต่พบไม่บ่อย
ห้ามใช้พีวีพี เจล ในคนที่แพ้ หรือ สงสัยว่าแพ้ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบดีขึ้นมาก เจ็บแผลในปากน้อยลง กินข้าว ดื่มน้ำได้ พูดชัดขึ้น
ลดความเจ็บปวดของเยื่อบุแผลอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งหรือแผลในปากในเด็ก ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหาร น้ำ โดยเจ็บแผลน้อยลง